วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

กบ

กบ เป็นสัตว์สี่เท้าจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กบจัดอยู่ในวงศ์รานิดี (Ranidae) สกุลรานา (Rana) ผิวหนังขรุขระ ไม่มีขนและเกล็ด ที่บริเวณผิวหนังของกบจะมีต่อมเมือกและน้ำใส ๆ เพื่อช่วยให้ผิวหนังของกบนั้น มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ กบไม่มีคอและหางซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการว่ายน้ำ มีขา 2 คู่ ขาด้านหน้ามีขนาดเล็กและสั้น มีนิ้วเท้าสี่นิ้วที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยนิ้วที่หนึ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก ขาคู่หลังมีมัดกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรง คอยประคองและค้ำจุนให้กบสามารถกระโดดไปด้านหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีข้อเท้าขนาดยาวช่วยในการกระโดด ระหว่างนิ้วเท้าทั้งห้าของขาคู่หน้าและหลัง มีหนังบาง ๆ เป็นแผ่น ๆ ยึดติดกันใช้สำหรับว่ายน้ำ

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ลักษณะทั่วไป

กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้น ๆ หรือแอ่งน้ำเล็ก ๆ มีหัวลักษณะคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม มีสัณฐานค่อนข้างแบนเรียบ ปากกว้าง นัยน์ตากลมโตและโปนโดยบริเวณหนังตามีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิดนัยน์ตาดำของกบ มีหูอยู่บริเวณด้านหลังของนัยน์ตาที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลม ๆ ทำหน้าที่เหมือนกับแก้วหูของมนุษย์ มีรูจมูกสองรูอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา ภายในปากมีฟันขนาดไล่เลี่ยกันคล้ายกับซี่เลื่อย ลิ้นมีปลายแยกออกเป็นสองแฉก ใช้สำหรับจับแมลงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร หายใจโดยใช้ปอดและสามารถหายใจได้ทางผิวหนัง มีการพบกบบางชนิดในอินโดนีเซียไม่มีปอด หายใจโดยผิวหนังอย่างเดียว [1]
ในช่วงฤดูแล้ง กบโดยทั่วไปจะอยู่แต่ในรูและไม่ออกหาอาหารชั่วคราว ภาวะนี้มักเรียกว่า "กบจำศีล"
กบกลายเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเนื้อกบมีโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทุกส่วนของร่างกายสามารถนำไปทำประโยชน์ได้หลากหลายชนิด เช่น หนังกบสามารถนำไปทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องดนตรี และของชำร่วยต่าง ๆ ส่วนหัว อวัยวะระบบทางเดินอาหารและกระดูกที่ตัดชำแหละแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ปัจจุบันกบได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงในการเกษตรของเกษตรกร

[แก้] ลักษณะทางกายวิภาค

กบ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงปานกลาง ใช้เวลาประมาณ 6 วันหลังจากการปฏิสนธิ เอมบริโอจะเจริญเป็นลูกอ๊อด (tadpole) และสามารถหาอาหารกินเองได้พวกเอมบริโอที่เจริญนอกตัวแม่ จะมีส่วนที่ช่วยป้องกันอันตราย เช่น ไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม ไข่กบมีวุ้นหุ้ม

[แก้] ตลาดต่างประเทศ

ได้มีบริษัทเอกชนรวบรวมซื้อกบจากแหล่งต่างๆเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ฮ่องกง นำเข้ากบประมาณร้อยละ 99.6 ของมูลค่าส่งออกกบของไทย ส่วนประเทศที่นำเข้าเนื้อกบที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับเอมิเรต และเยอรมันตะวันตก การส่งออกจะทำทั้งในสภาพกบที่ยังมีชีวิตที่มีขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 200 - 300 กรัม และในรูปของขาหลังกบแช่แข็งที่มีขนาดน้ำหนัก 25 - 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ส่วนหนังกบก็มีการส่งออกด้วยเช่นกัน ประโยชน์ทางตรงของการเลี้ยงกบ
  • เป็นอุปกรณ์ทางการศึกษาทางการแพทย์ การวิจัย ทางชีววิทยา และการทดลองทางวิทยาศาสตร์
  • ให้ความเพลิดเพลิน
  • เป็นอาหารและเพิ่มพูนรายได้ให้กับครอบครัวและประเทศชาติ
  • ใช้ประโยชน์จากหนังและอวัยวะอื่น ๆ

[แก้] ประโยชน์ทางอ้อม

  • ได้ประโยชน์จากระบบนิเวศวิทยา โดยช่วยทำลายแมลง ศัตรูพืช ยุง บุ้ง ฯลฯ
  • ใช้กระดูกทำปุ๋ย

[แก้] กบในประเทศไทย

กบที่พบในประเทศไทยมี 38 ชนิด แต่ที่พบทั่วๆไป มีดังนี้ คือ
  • กบบัว มีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 2 นิ้ว น้ำหนัก ตัวประมาณ 30 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
  • กบนา มีขนาดกลาง สีน้ำตาลปนดำ ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 6 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
  • กบจาน มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลปนเขียว ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 4 ตัว ต่อหนึ่งกิโลกรัม
  • กบภูเขา หรือ เขียดแลว เป็นกบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ชาวบ้านนิยมจับมาบริโภคกันมาก โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอน กบภูเขาอยู่ใน สภาพธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงทุกที
(Rana tigerina)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น