วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

หัตถกรรม

ประณีตศิลป์ไทย
   ชาติไทย เป็นชาติที่มีศิลปะวัฒนธรรม และประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
 โดยปรากฎหลักฐาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นงานประณีตศิลป์จำนวนมาก ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ ขึ้นมา
 ด้วยความเพียรพยายาม ประณีต วิจิตร บรรจง สืบต่อกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี หรืออาจถึงพันปี งานที่จัดว่าเป็นประณีต
 ศิลป์ของไทย ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่งานศิลปะดังต่อไปนี้

     1. เครื่องเงินไทย หมายถึง เครื่องเงินชนิดที่ทำเป็นเครื่องรูปพรรณ เครื่องถม และเครื่องลงยาสีที่ทำในประเทศไทย
 ทำด้วยโลหะเงินมาตรฐาน ให้มีโลหะอื่น ๆ เจือปนได้ไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ของ น้ำหนัก ส่วนประกอบของเครื่องเงินไทย
  ต้องแข็งแรง ทนทาน มีลวดลายที่ชัดเจน เรียบร้อย
     ในประเทศไทยมีหลักฐานของการใช้โลหะเงินมาตั้งแต่ ก่อนยุคทวาราวดี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละท้องถิ่น ภาคใต้
 ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยเฉพาะ เครื่องเงินของล้านนา นับว่ามีชื่อเสียงมาก กระบวนการผลิตเครื่องเงิน มีขั้นตอนสำคัญ
 3 ขั้นตอน คือ
     1. การหลอม เป็นขั้นตอนแรกในการผลิต เป็นการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อใช้ทำงานขั้นต่อไป
     2. การขึ้นรูป เป็นการเตรียมภาชนะให้เป็นรูปแบบตามต้องการ โดยทั่วไป มี 6 ปบบ คือ การขึ้นรูปด้วยค้อน ด้วยการตัดต่อ
 ด้วยการหล่อ ด้วยการชักลวด ด้วยการสาน และด้วยการบุ
     3. การตกแต่งเครื่องเงิน เป็นการทำงานขั้นสุดท้าย เพื่อให้เกิดความสวยงาม วิธีการตกแต่งเครื่องเงินโดยทั่วไป มี 7 ลักษณะ
   คือ การสลักดุน  การเพลา  การแกะลายเบา  การถมยาดำ  การถมยาทอง หรือตะทอง การลงยาสี และการประดับหรือฝังอัญมณี
    ลวดลายที่ปรากฎอยู่ในเครื่องเงินไทย มักเป้นลวดลายธรรมชาติ รูปเทวดา รูปสัตว์หิมพานต์ รูปตัวละครในวรรณคดี รูปสัตว์
  12 ราศี และลวดลายไทย

    2. เครื่องทอง เป็นสินแร่ที่มีราคา และมนุษย์นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุในการแลกเปลี่ยน ความสำคัญของทองเกิดจาก
  การที่มีค่าสูงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ มากนัก มีคตวามสวยงาม มีสีเหลืองสว่างสดใสปละมีประกายสุกปลั่ง
  เสมอ ไม่เป็นสนิม มีความอ่อนเหนียวจนสามารถนำมาตีเป็นแผ่นบางมาก ๆ ขนาด 0.000005 นิ้วได้ และเป็นโลหะที่
  ไม่ละลายในกรดชนิดใด แต่จะละลายได้อย่างช้า ๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวกับกรดเกลือ
     กระบวนการในการทำเครื่องทอง ในอดีต มีหลายวิธีแตกต่างกันออกไป ตามแต่เทคนิค หรือวัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ ดังนี้
  คือ การหุ้ม  การปิด(การลงรักปิดทอง) การบุ  การดุน  การหล่อ  การสลัก  การาไหล่หรือกะไหล่ การคร่ำ เป็นต้น เครื่องทอง
  ที่นิยมทำกันมัก เป็นวัตถุเกี่ยวกับของสำคัญ และมีค่า เช่น เครื่องราชูปโภค เครื่องยศ เครื่องใช้สอย เครื่องประดับ
  เครื่องพุทธบูชา เครื่องประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา พระพุทธรูป พระพิมพ์ แผ่นทองจารึก(สุพรรณบัฏ) ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น