วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาพสเกตซ์

บทที่ 8
การเขียนภาพสเกตซ์

สาระการเรียนรู้
การสเกตซ์ภาพเป็นการเขียนภาพโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือเขียนแบบ เพียงแต่ใช้ดินสอเขียนบนกระดาษด้วยมือ ผู้เขียนส่วนมากจะเขียนเป็นภาพสเกตซ์ก่อน เพื่อนำมาพิจารณาหาข้อบกพร่องและรายละเอียดต่างๆ แล้วจึงนำภาพนั้นไปเขียนแบบให้ถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบ
เนื้อหา
1. ความหมายของการสเกตซ์ภาพ
2. การลากเส้นสเกตซ์ภาพ
3. การสเกตซ์ภาพวงกลมหรือส่วนโค้ง
4. การสเกตซ์ภาพฉาย
5. การสเกตซ์ภาพสามมิติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของภาพสเกตซ์ได้
2. อธิบายขั้นตอนการลากเส้นสเกตซ์ภาพได้
3. สามารถสเกตซ์ภาพวงกลมหรือส่วนโค้งได้
4. สามารถสเกตซ์ภาพฉายได้
5. สามารถสเกตซ์ภาพสามมิติได้
 
1. ความหมายของการสเกตซ์ภาพ
ในการสเกตซ์ภาพ เราใช้เพียงดินสอ ยางลบ และกระดาษเท่านั้น การสเกตซ์ในโรงงานหรือนอกสถานที่ เราใช้สมุด จะบันทึกภาพสเกตซ์ได้ ความคิดริเริ่มในการออกแบบครั้งแรกจะแสดงออกเป็นภาพสเกตซ์ ซึ่งเป็นภาพที่อธิบายส่วนต่างๆ ของแบบได้ละเอียดและเข้าใจได้ง่าย เหมือนกับอธิบายด้วยคำพูด และภาพสเกตซ์เหล่านี้จะถูกนำไปเขียนเป็นแบบให้สมบูรณ์ โดยช่างเขียนแบบอีกครั้งหนึ่ง (ดังรูป 8.1)

รูปที่ 8.1 ตัวอย่างภาพสเกตซ์ชิ้นงาน
การเขียนภาพสเกตซ์ จะไม่ใช้สเกลในการเขียนภาพ ขนาดต่างๆ ของชิ้นงานจะประมาณด้วยสายตา แต่ถ้าใช้กระดาษชนิด CROSS-SECTION PAPER เขียนขนาดที่เรากำหนดก็ใช้วิธีนับช่องตาราง การเขียนภาพสเกตซ์จะให้ใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับขนาดที่แท้จริงของชิ้นงาน ถ้าชิ้นงานเล็กก็เขียนขยายให้ใหญ่พอที่จะอ่านแบบได้ง่าย (ดังรูป 8.2)

รูปที่ 8.2 ขันตอนการสเกตซ์ภาพด้วยกระดาษ CROSS-SECTION PAPER
ดินสอที่ใช้ในการสเกตซ์ภาพ ใช้ดินสอ HB หรือ F ดินสอจะแหลมมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการใช้งาน
2. การลากเส้นสเกตซ์ภาพ
การลากเส้นตรงจะมีการลากเส้นอยู่ 3 ลักษณะ คือ
2.1 การลากเส้นนอน ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้นโดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็จะดี แล้วทำการลากเส้นโดยลากจากซ้ายไปขวา และลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่ เคลื่อนไปตามแนวที่ลากเส้น ด้วยน้ำหนัก และความเร็วที่สม่ำเสมอ และแขนเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ ดังรูป 8.3

รูปที่ 8.3 การลากเส้นนอน ลากจากซ้ายไปขวา
2.2 การลากเส้นในแนวดิ่ง ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้นโดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็ได้ แล้วทำการลากเส้นโดยลากจากด้านบนลงมาด้านล่าง ขณะลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่เคลื่อนไปตามแนวเส้นด้วยน้ำหนักและความเร็วที่สม่ำเสมอ ดังรูป 8.4
รูปที่ 8.4 การลากเส้นดิ่ง
2.3 การลากเส้นเอียง ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการลากเส้น โดยประมาณด้วยสายตา อาจจุดด้วยดินสอเอาไว้ก่อนก็ได้ แล้วทำการลากเส้น โดยลากจากด้านล่างทางซ้ายมือไปด้านบนทางขวามือ หรืออาจจะหมุนกระดาษให้เป็นการลากเส้นในแนวนอนก็ได้ ขณะลากเส้นใช้นิ้วก้อยเป็นตัวประคอง ข้อมือแข็ง แต่ข้อศอกและหัวไหล่เคลื่อนไปตามแนวที่ลากเส้น ด้วยน้ำหนักและความเร็วที่สม่ำเสมอ ดังรูป 8.5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น